วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ

101 หมู่ 4 ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ 38000 โทร 042491639

วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ

วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ

101 หมู่ 4 ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ 38000 โทร 042491639

วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ

เกี่ยวกับเรา

ประวัติความเป็นมาของวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ

วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2535 บนเนื้อที่ 51 ไร่ 1 งาน 77 ตารางวา โดย ฯพณฯ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 101 ถนนแสนประเสริฐ-นาป่านหมู่ที่ 4 ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ รหัสไปรษณีย์38000โทรศัพท์ 0-4249-1579โทรสาร 0-4249-1639E-mail: buengkan01@hotmail.com Website : www.bk-tech.ac.th ห่างจากศาลากลางจังหวัดหนองคาย เป็นระยะทาง130 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครเดินทานโดยรถยนต์ ระยะทาง 750 กิโลเมตรวันที่3กรกฎาคม พ.ศ. 2534 อาชีวศึกษาจังหวัดหนองคายจึงได้ออกคำสั่งแต่งตั้งให้ นายนิติคาม รัตนมาลี เป็นหัวหน้าคณะทำงานหาข้อมูลและศึกษาความเป็นไปได้ ในการจัดตั้งสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาอีกแห่งหนึ่ง ดังนี้ พ.ศ. 2534  21 สิงหาคม 2534 กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งผู้ประสานงานจัดตั้งสถานศึกษา

(นายนิติคาม รัตนมาลี) ตามคำสั่งที่ 2054/2534 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2534 และแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ประสานงานฯ (นายเมธีศิน สมอุ่มจารย์) ตามคำสั่งที่ 1474/35 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2535

   พ.ศ. 2535  18 มีนาคม 2535 กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งสถานศึกษา

               พ.ศ. 2535  4 พฤษภาคม 2535 เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นรุ่นแรกสาขางานเชื่อมโลหะ โดยได้รับการสนับสนุนครูผู้สอนจากสถานศึกษาวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย

   พ.ศ. 2535  16 พฤษภาคม 2535  เปิดทำการสอนหลักสูตรระยะสั้น 2 สาขา คือ

  1. หลักสูตรระยะสั้น สาขาช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม 105 ชั่วโมง ใช้สำนักงานชั่วคราวเป็นสถานที่ทำการสอน โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทในเครือ Pan Group สนับสนุนเครื่องมือ วัสดุและครูผู้สอน
  2.   หลักสูตรระยะสั้นช่างเครื่องยนต์เล็ก 225 ชั่วโมง ใช้โรงฝึกงานของโรงเรียน

บึงกาฬเป็นสถานที่สอน โดยได้รับการสนับสนุนครูผู้สอนจากสถานศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือหนองคาย

   พ.ศ. 2536  25 พฤศจิกายน 2536 กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้งนายนิติคาม รัตนมาลี เป็นผู้อำนวยการ และนายเมธีศิน สมอุ่มจารย์ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยาเขตบึงกาฬ ตามคำสั่งกรม อาชีวศึกษา ที่ 3209/2536 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2536

   พ.ศ. 2537  16 พฤษภาคม 2537 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

4 สาขา ได้แก่

  1. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
  2.                   สาขาวิชาช่างยนต์
  3.  สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
  4.  สาขาวิชาพณิชยการ (บัญชี)

สถานศึกษายังได้เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของผู้เรียนและความพร้อม

ของสถานศึกษา เช่น

  1.   หลักสูตรระยะสั้นวิชางานเชื่อมโลหะ
  2.  หลักสูตรระยะสั้นพิมพ์ดีดไทย

   พ.ศ. 2539  13. พฤษภาคม 2539 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

เพิ่ม 2 สาขาวิชา ได้แก่

  1.  สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
  2.  สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ

   พ.ศ. 2540  12 พฤษภาคม 2540 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

เพิ่ม 1 สาขาวิชา และหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 1 สาขาวิชา ได้แก่

  1.  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  2.  สาขาวิชาพณิชยการ (การบัญชี) หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้จบหลักสูตร ปวช. สายตรงและ ม.6 หรือเทียบเท่า

 

 

   พ.ศ. 2541  18 พฤษภาคม 2541 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่ม 2 สาขาวิชารับผู้จบหลักสูตร ปวช. สายตรง ได้แก่

  1.  สาขาวิชาช่างไฟฟ้า (เครื่องกลไฟฟ้า)
  2.  สาขาวิชาช่างยนต์ (เทคนิคยานยนต์)

   พ.ศ. 2543  22 พฤษภาคม 2543 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่ม 3 สาขาวิชารับผู้จบหลักสูตร ปวช. สายตรง ได้แก่

  1.  สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
  2.  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระบบทวิภาคี 1 สาขาวิชาคือ
  3.  สาขาวิชาช่างยนต์

   พ.ศ. 2544  21 พฤษภาคม 2544 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้จบ ม.6 3 สาขาวิชา ได้แก่

  1.  สาขาวิชาช่างไฟฟ้า (เครื่องกลไฟฟ้า)
  2.  สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
  3.  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

สถานศึกษายังได้เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของผู้เรียนและความพร้อมของสถานศึกษา ดังนี้

  1.  หลักสูตรระยะสั้นติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร
  2.  หลักสูตรระยะสั้นการทำขนมต่าง ๆ
  3.  หลักสูตรระยะสั้นตัดผมชาย ฯลฯ

   พ.ศ. 2545  16 พฤษภาคม 2545 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระบบทวิภาคี 1 สาขา และหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 1 สาขา คือ

  1.  สาขางานเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
  2.  สาขาวิชาเทคนิคก่อสร้าง

   พ.ศ. 2545   21 ตุลาคม 2545 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระบบทวิภาคี 1 สาขา คือ

  1.  สาขางานธุรกิจสถานพยาบาล

   พ.ศ. 2546  19 พฤษภาคม 2546 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้จบ ม.6 หรือ ปวช. 1 สาขา คือ

  1.  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

   พ.ศ. 2554  21 ตุลาคม 2554 วิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬได้เปลี่ยนสังกัดจากอาชีวศึกษาจังหวัดหนองคาย เป็นอาชีวศึกษาจังหวัดบึงกาฬ

   พ.ศ. 2555  29 กุมภาพันธ์ 2555  ได้มีประกาศเรื่อง “การเปลี่ยนชื่อสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา เปลี่ยนชื่อ “วิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ”

เป็น “วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ” โดยอาศัยอำนาจข้อ 42 ของระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วย การบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552

   พ.ศ. 2556  19 พฤษภาคม 2556 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

รับผู้จบ ม. 3 คือ

  1.  สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ

   พ.ศ. 2558  18 พฤษภาคม 2558 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ทล.บ.)

3 สาขาวิชา ได้แก่

  1.  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2.  สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
  3.  สาขาวิชายานยนต์